การรักษา

การฝังเข็มเป็นศาสตร์เพื่อการบำบัดที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกและ FDA ว่ามีประสิทธิผลในการรักษาโรค อาการและกลุ่มอาการอันเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพได้มากมาย ซึ่งการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร การฝังเข็มจึงเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมและเป็นทางออกให้กับหลายโรค เช่น

  1. การรักษาโรคผิวหนัง ได้แก่ โรคภูมิแพ้ ลมพิษ ผื่นคัน งูสวัด
  2. แก้ปัญหาของผิวพรรณ เช่น ฝ้า กระ ริ้วรอยเหี่ยวย่น และเซลลูไลท์
  3. รักษา/บรรเทาอาการปวดทุกระบบ เช่น ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน ปวดฟัน ปวดท้อง ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเข่า-ไหล่ ปวดเส้นเอ็นและเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดกระดูกและข้อต่างๆ
  4. รักษาโรคทางหู ตา จมูก เช่น หูอื้อ หูตึง ตาแดง น้ำตาไหล ตาพร่ามัว น้ำตาไหล ไข้หวัด เจ็บคอ ไซนัสอักเสบ
  5. รักษาโรคทางระบบสมองและเส้นประสาท เช่น โรคความจำเสื่อม ภาวะสมองฝ่อ อัมพฤกษ์ อัมพาต พัฒนาการช้าในเด็ก
  6. รักษาโรคและอาการทางระบบสืบพันธุ์ เช่น ฟื้นฟูภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ภาวะมดลูกหย่อน ประจำเดือนผิดปกติ ภาวะมีบุตรยาก
  7. รักษาโรคและอาการทางระบบปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะรดที่นอน ปัสสาวะขัด
  8. รักษาและบำบัดอาการและโรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ช่วยในการควบคุมระดับความดันโลหิตสูง ควบคุมโรคระดับน้ำตาลในเบาหวาน คอพอกเป็นพิษ
  9. บรรเทาอาการและผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดเช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน
  10. การฟื้นฟูสุขภาพและการชะลอวัย (Anti-aging)
  11. ลดน้ำหนัก

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฝังเข็ม

  • รับประทานอาหารตามปกติก่อนมาฝังเข็มเสมอ เพราะการฝังเข็มในช่วงที่มีอาการหิวหรืออ่อนเพลียอาจจะมีอาการเป็นลมได้
  • ควรพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอก่อนเข้ารับบริการฝังเข็ม
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป ควรสวมกางเกงที่สามารถพับปลายขากางเกงขึ้นเหนือเข่าได้ และควรสวมเสื้อแขนสั้น

ข้อแนะนำขณะรับบริการฝังเข็มและหลังการฝังเข็ม

  1. ท่านั่งหรือนอนในขณะฝังเข็มควรอยู่ในท่าที่สบายไม่เครียดเกร็ง
  2. นั่งหรือนอนพักในท่าสบายในท่าเดิมประมาณ 15-50 นาที หลังจากที่แพทย์ทำการฝังเข็มและคาเข็มไว้ ไม่ควรขยับแขนขาหรือบริเวณที่ฝังเข็มเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มบิดงอซึ่งทำให้ปวดได้
  3. ขณะฝังเข็มหากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการวิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น ปากซีด คล้ายจะเป็นลม มือเท้าชา ให้รีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที แสดงว่าร่างกายอ่อนแอ แพทย์จะทำการถอนเข็มและนัดเข้ามารับบริการในวันถัดไป
  4. 2 ชั่วโมงแรกหลังจากฝังเข็ม ไม่ควรอาบน้ำ

ข้อมูลที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับบริการฝังเข็ม

  1. ท่านตั้งครรภ์อยู่หรือไม่
  2. ท่านเป็นโรคมะเร็งหรือไม่
  3. ท่านเป็นโรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือดหรือไม่
  4. เป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดหรือไม่
  5. ท่านเป็นโรคติดต่อหรือติดเชื้อหรือไม่
  6. ท่านใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจหรือไม่

เพื่อความสะดวกในการเข้ารับบริการ ควรนัดล่วงหน้าและมาตามนัด

โรคเรื้อรังอาจจะต้องใช้เวลาในการฝังเข็ม 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นระยะเวลานานขึ้นกับอาการและสาเหตุของโรค

ค่าบริการ/ครั้ง 500-1700 บาท (ขึ้นกับอาการและโรค) ทั้งนี้ไม่รวมค่าเข็ม การกระตุ้นไฟฟ้า และค่ายา
สอบถามเพิ่มเติม Call Center 0 2282 1100